• Home
เรียน ท่านผู้เดินทาง วีซ่าเข้าอินเดียต้องใช้รูปถ่าย 3 ใบ พื้นหลังสีขาว และต้องขนาดพิเศษ 2 X2 นิ้วเท่านั้น!!!(ส่วนมากจะส่งผิดมาเป็น1นิ้วครึ่ง X2นิ้วค่ะ)
แจ้งข่าว...ทริปคณะมุทิตาศิษย์วัดอัมพวัน
ทริปคณะ"มุทิตาศิษย์วัดอัมพวัน"จะไปปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่พุทธคยา 5 วัน+ไหว้พระ 4 สังเวย์ ในวันที่13-24 มีนาคม 2560 ทริปนี้ใช้บินภายในลงคยาเลย ท่านใดสนใจติดต่อได้ที่ "สุทธิธรรมทัวร์ "ค่ะ
อินเดีย สังเวชนียสถาน 4+ถ้ำอจันตา+ถ้ำเอลโลร่า ที่รัฐมหาราช
อินเดีย สังเวชนียสถาน 4
23 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม 2560 อินเดีย 4 สังเวชนียสถาน
อินเดีย อจันต้า
พม่า คณะแก้วเสียงธรรม
พม่า 20-22 มกราคม 2560
อินเดีย 4 สังเวชนียสถาน
อินเดีย 9-19 กุมภาพันธ์ 2560 4 สังเวชนียสถาน
พม่า...พระเจดีย์ชเวดากอง พระธาตุอินทร์แขวน
พม่า 27-29 มกราคม 2560 นมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง พระธาตุอินทร์แขวน

Ourteam

ชำนาญ สุทธิ   โทร 081 - 9115281

อนิสา สุทธิ      โทร  089 - 9843361, 091-8826082

วิฆเนศ สุทธิ   โทร  061-5198965

วสกร สุทธิ      โทร 081-4587098 . 086-4413491

การชำระเงินและการโอนเงิน

นายชำนาญ สุทธิ - ธนาคารไทยพาณิชย์ บ/ช  ออมทรัพย์  สาขา บิ๊กซี  สุขสวัสดิ์  435-0-11641-6  

( หลังจากโอนแล้วกรุณาส่งสลิปใบโอนเงิน เขียนชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ คณะ วันที่เดินทาง
แฟ็กซ์หลักฐานมาที่ 02-4610027 หรือไลน์มาที่ Line ID: sut3413 , Line ID : 0918826082 มิฉะนั้นจะไม่ทราบว่าเป็นของท่านผู้ใดค่ะ )

สถานที่ที่ติดต่อประสานงาน

สุทธิธรรมทัวร์

34/1 หมู่ 3 ต. ทรงคนอง อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ 10130

Tel: 0–2463-2169, Fax: 0-2461-0027

Email: sutthithamtour@hotmail.com

Facebook: sutthithamtour Anisa Sutthi  หรือ https://www.facebook.com/sutthithamtour.anisasutthi

Line ID: sut3413, Line ID: 0918826082

สายด่วน : อนิสา สุทธิ      โทร  089 - 9843361, 091-8826082

www.sutthitham.com 

ข้อกำหนดในการเดินทาง...อินเดีย-เนปาล

เอกสารในการขอวีซ่า
- หนังสือเดินทางตัวจริงมีอายุการใช้งานเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับจากวันเดินทาง
- รูปถ่ายสีขนาด 2 X 2 นิ้วต้องเห็นไหล่ ( สี่เหลี่ยมจตุรัสพื้นหลังรูปสีขาวเท่านั้นค่ะ ) จำนวน 2 รูป
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเขียน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ด้วย
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นชื่อรับรอง
- สำหรับท่านที่ยังทำงานอยู่ รบกวนเขียนรายละเอียดที่ตั้งของบริษัท ตำแหน่งหน้าที่ ให้ด้วย
สถานที่ส่งเอกสารเพื่อการเดินทาง(ส่งไปรษณีย์ EMS)
สุทธิธรรมทัวร์ 
34/1 หมู่ 3 ซอยเพชรหึงษ์ 14 ต.ทรงคนอง
อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
(กรุณาเขียนมุมซองทริปวันที่จะเดินทาง)

กรณียกเลิกการเดินทาง
1. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 30 วันขึ้นไป คิดค่าใช้จ่ายตามจริง
2. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 15 วันขึ้นไป คิดค่าใช้จ่ายตามจริง
3. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 7-14 วัน เก็บค่าใช้จ่าย 50 % ของราคาทัวร์
4. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 1-6 วัน เก็บค่าใช้จ่าย 100 % ของราคาทัวร์

การเปลี่ยนแปลงรายการ การเดินทางอาจมีปัญหาเฉพาะหน้าขึ้น เพราะในประเทศอินเดียมีอะไร
ที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแบบฉับพลันได้เสมอ ผู้บริการขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายการตามความ
เหมาะสม แต่จะรักษาสิทธิ์ของท่านเต็มที่ และจะแจ้งให้ผู้เดินทางทราบก่อนการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง

การไม่ชำระเงินตามกำหนดนัดหมาย
สุทธิธรรมทัวร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิก และไม่คืนเงินมัดจำ

การเตรียมตัวในการเดินทาง

- ตามกฎของสายการบิน ไม่อนุญาตให้นำของเหลวทุกชนิดใส่ในกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง และของ
มีคม เช่น มีด กรรไกร ที่ตัดเล็บ ส้อม ไฟแช๊ค มีดพับ ( ถ้านำไปกรุณาใส่ในกระเป๋าเดินทางใบใหญ่เพื่อนำเข้าใต้เครื่อง )
- Power bank หรือแบตเตอรี่สำรองต้องถือขึ้นเครื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจ
- ไฟฉาย ( ไฟฟ้าที่อินเดียดับบ่อย ), ร่ม หรือหมวก, ยากันยุง, แชมพู, สบู่, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน ฯลฯ
- มีดเล็กปอกผลไม้, กรรไกรตัดเล็บ, สมุดโน้ต, ปากกา,
- อาหารที่ท่านชอบส่วนตัว ( สำหรับท่านที่ทานอาหารยาก )
- สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาไปให้พอกับจำนวนวันที่เดินทาง เพราะที่อินเดีย
หาซื้อยาก และมีราคาแพง
- ควรเตรียมกระดาษทิชชู และทิชชูเปียกไปด้วย ( เวลาเข้าเต็นท์ห้องน้ำข้างทาง ทางทัวร์บริการเต็นท์ห้องน้ำเคลื่อนที่ให้ค่ะ)
- รองเท้า : เตรียมรองเท้าที่สวมสบาย พร้อมรองเท้าแตะ (สำรองไว้)
- ยากันยุงชนิดทา ( เพราะที่พุทธคยายุงค่อนข้างชุม )
- กล้องถ่ายรูป วีดีโอ ถ้าท่านนำไปควรเตรียมถ่าน ฟิล์ม และปลั๊กต่อสามขาชนิดขากลมไปด้วย
เพื่อชาร์ทเครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ
- กระเป๋าเดินทางที่นำไปควรมีกุญแจล๊อค ( น้ำหนักไม่เกิน 20 กก. )
- ซิมการ์ดพร้อมเน็ตที่อินเดีย สามารถซื้อได้ที่คยาราคาไม่แพง โทรกลับเมืองไทยใช้รหัส 0066 เช่น 0066-81 – 9115281 (ตัด 0 ข้างหน้า ) นาทีละประมาณ 4 บาท
- ทางทัวร์เตรียมพลาสติก หรือผ้าปูนั่งสมาธิให้ค่ะ พร้อม ธูป เทียน แต่ทองแผ่นใช้บูชาส่วนตัว
- ควรใช้สกุลเงินรูปีในการซื้อสินค้า
- เครื่องประดับและของมีค่า : ไม่ควรนำติดตัวไปมากจะได้ตัดความกังวล ถ้าจำเป็นต้องนำไปด้วยขอให้ท่านเก็บรักษาไว้กับตัวให้ดี และไม่ควรทิ้งไว้ในห้องพัก
- สิ่งของที่ควรซื้อในอินเดีย : ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ส่าหรี เข็มกลัดติดเสื้อรูปพระพุทธเมตตา ฯลฯ ภาพพระพุทธเจ้า 3 มิติ ฯลฯ เครื่องไม้จันทน์ต่างๆ เครื่องทองเหลือง สร้อยคอ
- ปัจจัยทำบุญเพื่อทอดผ้าป่าตามวัดที่เราไปพัก ( ใช้เงินไทยทำบุญได้เลยค่ะ )

การแลกเงินรูปี สามารถนำเงินไทยไปแลกเป็นรูปีได้ อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อ มี.ค. 2559 100 บาท = 180-189 รูปีแลกได้ที่หัวหน้าทัวร์

เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

ตัวอย่างโปรแกรมทัวร์อินเดีย-ภูฏาน 15 วัน


วันแรก สมุทรปราการ – คูวาหะติ - ศิลลอง

04.15 น. พร้อมกันที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, จ. สมุทรปราการ พบกันที่บริเวณเคานเตอร์ แอร์อินเดีย ประตูทางเข้าที่ 10 แถวดับเบิ้ลยู (W)

06.50 น. (เวลาประเทศไทย) เดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเครื่องบินของสายการบิน ดรุก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ KB 141 ไปเมืองคูวาหะติประเทศอินเดีย (ระยะทางประมาณ 1676.6 กม., ใช้เวลาบิน 2 ชม. 40 นาที)

08.20 น. (เวลาประเทศอินเดีย) ถึงท่าอากาศยานโลกปริยา โคปินาถ โบร์โดลอย เมืองคูวาหะติ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย (เวลาอินเดียช้ากว่าประเทศไทย 1ชม. 33 นาที 12 วินาที)

ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ออกเดินทางโดยรถโฟวีลไดร์ว***ไปเมืองศิลลอง รัฐเมฆาลยะ

เมือง ศิลลอง เมืองหลวงของรัฐเมฆาลยะ ในสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดีย อังกฤษได้สร้างเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลวงของรัฐอัสสัม และให้เป็นเมืองตากอากาศในฤดูร้อน เพราะอากาศทางใต้ร้อนมาก ข้าราชการอังกฤษ และคนอังกฤษที่อยู่ในอินเดียไม่สามารถทนอากาศร้อนได้

เมื่อถึงหน้า ร้อน จึงขึ้นมาพักที่เมืองศิลลอง เมื่ออินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษแล้ว ทางการได้ทำการจัดส่วนการปกครองใหม่ได้แยกเนื้อที่บางส่วนของรัฐอัสสัมออกไป เพื่อจัดตั้งรัฐใหม่ให้ชื่อว่า เมฆาลยะ

ค.ศ. 1971 รัฐสภาแห่งอินเดียได้ผ่านการเห็นชอบ ให้รัฐเมฆาลยะเป็นรัฐแห่งประเทศสาธารณรัฐอินเดีย ดังนั้นวันที่21 มกราคม ค.ศ. 1972 เมฆาลยะจึงเป็นรัฐเมฆาลยะโดยสมบูรณ์ มีเมืองศิลลองเป็นเมืองหลวงของรัฐส่วนรัฐอัสสัม มีเมืองหลวงใหม่ชื่อ ดิสปูร์ ตั้งอยู่เขตชานเมืองคูวาหะติ

เมืองศิลลอง อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 4,908 ฟิต (1,496 เมตร)อุณหภูมิในเดือนเมษายนสูงสุดประมาณ 23.4 องศาเซลเซียส(74.1 องศาฟาเรนไฮต์) ต่ำสุด 13.8 องศาเซลเซียส ( 56.8 องศาฟาเรนไฮต์)

ถึงเมืองศิลลอง นำเข้าโรงแรมที่พัก Polo Tower Hotel หรือเทีบบเท่า

รับประทานอาหารเพล** /กลางวันที่โรงแรมที่พัก

หลังอาหารเพล/ กลางวัน นำชม:

∞ ทัศนีย์ภาพเมืองบน ศิลลองพีค (ยอดเขาศิลลองพีค อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 6,449 ฟิต หรือ1,966 เมตร)

∞ น้ำตกเอลอิแฟ็นท์ (น้ำตกช้าง)

∞ น้ำตกเรงเทม

∞ สนุกกับการชม ช้อป ชิม จ่าย ที่โปลิสบาซ่าร์

นำกลับโรงแรมที่พัก Polo Tower Hotel หรือเทีบบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

หมายเหตุ *** การเดินทางใช้รถโฟวีลไดร์วในประเทศอินเดีย ตั้งแต่วันแรกถึงวันที่แปด

** มีสมาชิกบางท่านถือศีล 8 รับประทานอาหาร 11.00 น.

วันที่สอง ศิลลอง – คูวาหะติ

08.00 น. หลังอาหารเช้า นำไปเดินเล่นออกกำลังกาย ที่

∞ สวนดอกไม้ และสวนสัตว์ขนาดเล็กที่ เลดี้ไฮดาริ

∞ สวนพฤกษศาสตร์ และทะเลสาบวอร์ด

นำกลับโรงแรมที่พัก Polo Tower Hotel หรือเทีบบเท่า

รับประทานอาหารเพล / กลางวันที่โรงแรมที่พัก

13.00 น. ออกเดินทางไปเมืองคูวาหะติ

เมือง คูวาหะติ เป็นเมืองสำคัญมาหลายยุคหลายสมัย เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรต่างๆ ตั้งแต่สมัยมหาภารตะ จนถึงอาณาจักรกมตะ อาณาจักรกมตะต่อมาได้แบ่งออกเป็นสองอาณาจักรได้แก่

อาณาจักรโกจ์ (โกจ์ พิหาร) อยู่ทางตะวันตก ตกอยู่ใต้อำนาจของพวกโมกุล

อาณาจักรโกจ์ หะโจ อยู่ทางตะวันออก ตกอยู่ใต้อำนาจของพวกอาหม

ปัจจุบัน เมืองคูวาหะติ เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมที่ใหญ่และสำคัญ ศูนย์กลางการค้า การธุรกิจ เป็นเมืองเศรษฐกิจ และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงดิสปูร์ แห่งรัฐอัสสัมรัฐอัสสัม เป็นดินแดนที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยมหาภารตะ เรียกกันว่า ปราคชโยติศะ

เมื่อ ช่วงหนึ่งพันปีแรกเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรกามรูปะ อาณาจักรกามรูปะ ดำรงความยิ่งใหญ่อยู่ 800 ปี จึงได้ล่มสลาย มาถึงศตวรรษที่ 12 -15 เป็นที่ตั้งของอาณาจักรกมตะ เมื่ออาหมเรืองอำนาจได้ทำการรวมอาณาจักรกมตะ

ทาง ด้านตะวันออก ที่เรียกว่า อาณาจักรโกจ์ หะโจ เข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันกับอาณาจักรอาหม ส่วนด้านตะวันตก ที่เรียกว่าอาณาจักรโกจ์ (โกจ์ พิหาร) ตกอยู่ในอำนาจของพวกโมกุล

ต่อ มาเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอาหม อาณาจักรอาหมดำรงความยิ่งใหญ่ได้ประมาณ 600 ปี ก็เสียให้แก่พม่าเมื่อค.ศ. 1821และอยู่ใต้อำนาจพม่าในช่วงสั้นๆ ภายในระยะ เวลา 4 ปี อังกฤษก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคแห่งนี้ราว ค.ศ. 1824

เมื่อพม่า พ่ายแก่อังกฤษค.ศ.1826 อังกฤษจึงได้มีบทบาทมากขึ้นด้วยการรีบแยกอาณาจักรอาหมออกจากพม่า แล้วนำไปรวมกับรัฐเบงกอลตะวันออก อังกฤษเริ่มจัดเขตการปกครองและปฏิรูปอาณาจักรอาหมทั้งหมดใหม่ ให้เป็นรัฐแห่งอังกฤษหลังจากค.ศ. 1838

ครั้นอินเดียได้รับเอกราชจาก อังกฤษเมื่อค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกรัฐอาหมออกจากรัฐเบงกอลตะวันออก ให้เป็นรัฐแห่งประเทศสาธารณรัฐอินเดีย หลังจากนั้นรัฐอาหมก็เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอัสสัม

ถึงเมืองคูวาหะติ, นำชม:

∞ วัดนาวะกราหะ (วัดนพเคราะห์) สร้างโดยกษัตริย์อาหม พระเจ้าราเชสวา สิงห์เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18

∞ วัดกามัขยา วัดเก่าแก่สร้างเมื่อระยะเวลาหนึ่งพันปีแรกในยุคกามรูปะ

∞ เพลินเพลินกับการชม ช้อบ ชิม จ่าย ที่บาซ่าร์ชั้นนำของเมือง

หลังจากนั้นนำเข้าโรงแรมที่พัก Dynasty / Kiranshree Portico …Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สาม คูวาหะติ – โชร์หัต - ศิวะสคาร์

08.00 น. หลังอาหารเช้าออกเดินทางไปเมืองศิวะสคาร์

รับประทานอาหารเพล / กลางวัน ที่โรงแรม / ภัตตาคาร ระหว่างทางระหว่างทางแวะชมเมืองโชร์หัต

เมือง โชว์หัต เมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรอาหม พระเจ้าโครินาถ สิงห์ทรงย้ายเมืองหลวงจากรางปูร์ ปัจจุบันได้แก่เมืองศิวะสคาร์ (เดิมเรียกสิบสคาร์)มาที่โชร์หัต ทรงทำให้เมืองโชร์หัตเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองและการค้า

ต่อมาได้ถูกพม่าบุกและทำลายจนหมดสิ้นระหว่างปีค.ศ. 1817 – ค.ศ. 1826

ในช่วงค.ศ. 1824 อังกฤษเริ่มเข้ามาใช้อำนาจเหนือเมืองโชร์หัตภายใต้การบังคับบัญชาของเดวิด สก็อต และร้อยเอกริชาด

ปัจจุบัน เมืองโชร์หัต เป็นเมืองทันสมัย เป็นแหล่งเกิดของการค้า ธุรกิจและอาชีพใหม่ๆ มากมาย เป็นแหล่งปลูกชา และผลิตภัณฑ์ชา เป็นประตูสู่รัฐอัสสัมตอนบน และรัฐนาคแลนด์ หรือนาคะ

ถึงเมืองโชร์หัต นำชม:

∞ สถานที่สำคัญต่าง ๆ รอบเมือง

∞ ไร่ชา และผลิตภัณฑ์ชา

จากนั้นเดินทางต่อไปที่เมืองศิวะสคาร์

เมือง ศิวะสคาร์ หรือเรียกอย่างไทยว่า ศิวะสาคร เดิมเรียกกันว่า สิบสคาร์หรือสิบสาคร เคยเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาอาหมชื่อว่า รางปูร์ระหว่างค.ศ. 1699 – ค.ศ. 1788

ถึงเมืองศิวะสคาร์นำเข้าโรงแรมที่พัก Siva Palace Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สี่ ศิวะสคาร์

08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:

∞ อ่างเก็บน้ำ ศิวะสคาร์ หรือ ศิวะสาคร สร้างโดยพระนางอัมพิกา พระมเหสีของพระเจ้าศิวะ สิงห์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรอาหม เมื่อค.ศ. 1734 อ่างเก็บน้ำมีเนื้อ

ที่ประมาณ 130 เอเคอร์ ลึก 64 ฟิต สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ เมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานนามตามพระนามของพระราชสวามีว่า ศิวะสคาร์ หรือ ศิวะสาคร

∞ วัดศิวะ วัดวิษณุ วัดเทวี ตั้งอยู่บนฝั่งของอ่างเก็บน้ำ สร้างโดยพระนางอัมพิกาพระมเหสีของพระเจ้าศิวะ สิงห์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรอาหม เมื่อค.ศ.1734

∞ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอาหม

นำกลับโรงแรมที่พัก Siva Palace Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารเพล/ กลางวัน ที่โรงแรมที่พัก Siva Palace Hotelหรือเทียบเท่า

13.00 น. หลังอาหารกลางวัน นำชม:

∞ สนามกีฬาหลวงรางฆาร์ สร้างโดยกษัตริย์อาหม พระเจ้าปรามัตตะ สิงห์เมื่อ ค.ศ. 1746

∞ พระราชวังและที่บัญชาการทหาร (กาเรง ฆาร์ และ ตาลทัล ฆาร์) สร้างโดยกษัตริย์อาหม พระเจ้ารูดรา สิงห์ เมื่อค.ศ. 1696 – 1714

∞ พระราชวัง(ตาลทัล) อยู่ห่างจากเมืองศิวะสคาร์ 6 กม. สร้างโดยกษัตริย์อาหม พระเจ้ารูดรา สิงห์ เมื่อค.ศ. 1699

∞ เคาร์หคาออนและพระราชวังคาร์หคาออน อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองศิวะสคาร์ไป 13 กม.

...

คา ร์หคาออน หรือ ครหคาออน เมืองหลวงแห่งอาณาจักรอาหมสร้างโดยพระเจ้าสูกเลนมุง เมื่อค.ศ.1540 และดำรงความเป็นเมืองหลวงอยู่หลายปี พระราชวังคารห์คาออน เดิมสร้างด้วยไม้และหินเมื่อ ค.ศ. 1540

ต่อมาได้ถูกทำลาย ราวค.ศ. 1762พระเจ้าราเชสวาร์ สิงห์ ทรงสร้างพระราชวังคารห์คาออนขึ้นใหม่

ใน ปีค.ศ. 1747 พระเจ้าปรามัตตะ สิงห์ พระโอรสแห่งพระเจ้ารูดรา สิงห์ ทรงสร้างกำแพงอิฐ ยาว 5กม. ล้อมรอบพระราชวังคาร์หคาออน และประตูพระราชวังที่ทำจากหิน

หลังจากนั้นนำกลับโรงแรมที่พัก Siva Palace Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่ห้า ศิวะสคาร์ – นหาร์กาเทีย – ตินสูเกีย – ดิบรูคาร์ห

08.00 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปเมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักรอาหมเมืองจาไรเดโอ อยู่ห่างจากเมืองศิวะสคาร์ ไปทางตะวันออก 30 กม.และอยู่บริเวณเชิงเขาของรัฐนาคแลนด์

การเกิดและล่มสลายของอาณาจักรอาหม

ณ เมืองโมงเมา รัฐฉาน ประเทศพม่าความไม่สงบในเมืองโมงเมา สาเหตุมาจากความร้อนระอุของการเมืองทำให้เจ้าชายเชื้อสายไตหรือไทแห่ง ราชวงศ์ฉาน ตัดสินพระทัยละบ้านเมืองไปตั้งบ้านเมืองใหม่

ดังนั้นต้น ศตวรรษที่ 13 เจ้าชายสุกาฟ้า พร้อมด้วยผู้ที่สมัครใจชาวไตติดตามเจ้าชายประมาณ 9000 คน ซึ่งส่วนมากเป็นชายฉกรรจ์ ออกเดินทางข้ามเขาปาตไก่ ทางเหนือประเทศพม่ามาจนถึงบริเวณหุบเขาพรหมบุตร ในชมพูทวีป

เจ้าชายสุ กาฟ้าทรงสร้างเมืองระหว่างแม่น้ำดิกโหและแม่น้ำดิหิง เมื่อค.ศ. 1228 พร้อมกับได้ทำสัมพันธไมตรีกับชนเผ่าโมราน และชนเผ่าโบรหิสซึ่งตั้งบ้านเมืองอยู่ในบริเวณเดียวกันคือแม่น้ำติกโหและติ หิง ต่อมามีการแต่งงานกันระหว่างชายฉกรรจ์ที่ติดตามเจ้าชายมากับชน 2 เผ่า

นอก จากนั้นยังได้แต่งงานกับ ชาวไต-มงโกลอย ที่อพยพมาจากรัฐยูนานในประเทศจีน ซึ่งมาตั้งรกรานอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มพรหมบุตรอยู่ก่อนแล้ว ส่วนเจ้าชายสุกาฟ้าหาได้พอใจเมืองต่างๆ ที่สร้างนั้น ทรงย้ายถิ่นฐานและเมืองหลายครั้ง

ในที่สุดทรงพอพระทัยและได้สร้าง เมืองหลวง แห่งอาณาจักรอาหมเป็นครั้งแรกที่จาไรเดโอ ปัจจุบันได้แก่พื้นที่ชานเมืองศิวะสคาร์ แล้วได้สถาปนาพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ ของชาวไตหรือไทแห่งอาณาจักรอาหม

หลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ กษัตริย์องค์ต่อๆมาได้ทำการย้ายเมืองหลวงอีก 3 ครั้ง

ครั้งแรกย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่คาร์หคาออน หรือ ครหคาออน ปัจจุบันได้แก่พื้นที่เขตเมืองศิวะสคาร์

ครั้งที่สองย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่เมืองรางปูร์ ปัจจุบันได้แก่ เมืองศิวะสคาร์

ครั้ง ที่สามย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่เมืองโชร์หัตเมื่อมีเมืองหลวงใหม่ เมืองหลวงเก่าจาไรเดโอจึงใช้เป็นที่ฝังพระศพพระมหากษัตริย์ พระราชินี ฝังผู้ติดตามองค์ละ 1คน และศีรษะของข้าศึก

ระยะเวลาที่อาณาจักรอาหม เรืองอำนาจนั้น ได้ทำสงครามกับพวกโมกุล 17 ครั้ง พวกโมกุลไม่สามารถเอาชนะได้เลยสักครั้งเดียว แต่ชาวไตอาหมมาพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ จนสูญเสียเอกราชให้แก่ชาวพม่า เพราะได้เกิดกบฎ มัวโมเรียขึ้น ทำให้อาณาจักรอาหมเริ่มอ่อนแอ ขุนนางผู้ใหญ่ชิงความเป็นใหญ่กัน

และเพื่อให้ตนเองได้เป็นใหญ่จึงได้ ไปขอให้พม่าช่วย ซึ่งเป็นการชักศึกเข้าบ้าน อาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองมาเกือบ 600 ปีก็ถึงกาลดับอับแสงลง และมืดมิดสนิทตลอดไป เมื่ออังกฤษได้เข้ามามีอำนาจเหนือชาวไตอาหม หลังจากที่อังกฤษได้พม่าเป็นเมืองขึ้นเมื่อค.ศ. 1826

ถึง เมืองหลวงเก่าจาไรเดโอ เพื่อเป็นการเคารพกษัตราและราชินีแห่งอาณาจักรอาหม ตลอดจนผู้ที่วายชนม์ ซึ่งถูกฝัง ณ เมืองหลวงจาไรเดโอ ในเวลาต่อมาได้เป็นสุสานหลวง

จากนั้นจะพร้อมกันถวายเครื่อง สักการะบูชา แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้แก่กษัตราธิราช พระราชินี และผู้วายชนม์ที่ถูกฝังในสุสานหลวง เสร็จแล้วเดินชมสถานที่

รับประทานอาหารเพล / กลางวัน ที่ภัตตาคาร / โรงแรม ระหว่างทาง

หลังจากนั้นเดินทางไปเมืองนหาร์กาเทีย เพื่อไปหมู่บ้านน้ำพา เยี่ยมชาวไตพาเก และทำบุญที่วัดน้ำพาเก

ชาว ไตพาเกหรือไทพาเก เป็นชนเชื้อชาติชาวไตสาขาไต ใหญ่หรือไทใหญ่เข้ามาที่รัฐอัสสัมเมื่อประมาณหลังศตวรรษที่ 18 ชาวไตพาเกอพยพมาจากเมือง โมกเงา ในประเทศพม่า โดยเดินทางข้ามภูเขาปาตไก่ มาตั้งบ้านเรือนในบริเวณฝั่งใต้ของแม่น้ำบุริดิหิง

เมื่อค.ศ. 1850 จนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ มีชื่อว่าน้ำพาเก ชาวไตพาเกนับถือศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท จะทำบุญกันในวันวิสาขบูชาทอดกฐิน บูชาพระเจดีย์ และมีพิธีสงกรานต์ในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี

ถึงหมู่บ้านน้ำพาเก:

∞ ทำบุญที่วัดน้ำพาเก ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่สุด เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในรัฐอัสสัม สร้างเมื่อค.ศ. 1850 และพบปะกับชาวไตพาเก ชาวไตพาเกมีสำเนียงพูดคล้ายภาษาไทย และมีขนบประเพณีเหมือนคนไทย

จากนั้นเดินทางไปหมู่บ้านโปไวมุข ที่เมืองตินสุเกีย เพื่อเยี่ยมชาวไตคำยัง และทำบุญที่วัด

...

ชาว ไตคำยังหรือไทคำยัง เป็นชนชาติชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากเมือง มุงโกงหรือมุงกอง โดยเดินทางข้ามเขาปาตไก่ แล้วมาตั้งบ้านที่เมืองศิวะสคาร์เมืองโชว์หัต เมืองตินสุเกีย ในรัฐอัสสัม

ชาว ไตคำยัง รู้จักกันในชื่อ ศยัม คล้ายคำว่าสยาม ของไทย ชาวไตคำยัง นับถือศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาทชาวไตคำยังมีสำเนียงพูดเหมือนภาษาไทย และมีขนบประเพณีเหมือนคนไทย

...

ถึงหมู่บ้านโปไวมุข:

∞ ทำบุญที่วัดโปไวมุข และพบปะชาวไตคำยัง

หลังจากนั้นเดินทางไปเมืองดิบรูคาร์ห

ถึงเมืองดิบรูคาร์นำเข้าโรงแรมที่พัก Little Palace Hotel หรือเทียมเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่หก ดิบรูคาร์ห – โลหิต – ศิวะสคาร์

07.00 น. หลังอาหารเช้าออกเดินทางไปเมืองโลหิต รัฐอรุณจัลประเทศเพื่อเยี่ยมชาวไตคำตี และทำบุญที่วัด

...

ชาว ไตคำตีหรือไทคำตี เป็นชนเชื้อชาติฉานหรือไตใหญ่หรือไทใหญ่ อพยพมาจากเขตบอร์คำตีบริเวณหุบเขาอิระวดี ทางเหนือของรัฐฉาน ประเทศพม่าเมื่อศตวรรษที่ 18

ชาวไตคำตีนับถือศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท ชาวไตคำตีมีสำเนียงการพูดเหมือนไทยภาคเหนือ และมีขนบประเพณีเหมือนคนไทย

...

เข้าเขตเมืองโลหิต นำชม:

∞ หมู่บ้านน้ำทราย: ทำบุญที่วัดน้ำทราย, วัดมันเมา

∞ หมู่บ้านจองคำ: ทำบุญที่วัดจองคำพบปะชาวไตคำตี

∞ ชมทิวทัศน์เทือกเขาปาตไก่ เส้นทางที่ชาวไตใช้เดินทางอพยพมาจากพม่าเข้าสู่อินเดีย และจากจีนเข้าสู่อินเดีย

รับประทานอาหารเพล/กลางวัน ที่ภัตตาคาร / โรงแรม ระหว่างทาง

จากนั้นเดินทางไปเมืองศิวะสคาร์

ถึงเมืองศิวะสคาร์นำเข้าโรงแรมที่พัก Siva Palace Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่เจ็ด ศิวะสคาร์ – คูวาหะติ

08.00 น. หลังอาหารเช้าออกเดินทางไปเมืองคูวาหะติ

รับประทานอาหารเพล/กลางวัน ที่ภัตตาคาร / โรงแรม ระหว่างทาง

ถึงเมืองคูวาหะติ นำเข้าโรงแรมที่พัก Dynasty / Kiranshree / Poritco … Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่แปด คูวาหะติ ณ อินเดีย – ปาโร ณ ภูฏาน

05.00 น. ออกเดินทางไปท่าอากาศยานโลกปริยา โคปินาถ โบร์โดลอย

08.50 น. เดินทางออกจากท่าอากาศยานโลกปริยา โคปินาถ โบร์โดลอย โดย(เวลาประเทศอินเดีย) เครื่องบินของสายการบินดรุก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ KB 141ไปเมืองปาโร ประเทศภูฏาน (ระยะทางประมาณ 272 กม., ใช้เวลาบิน 0.30 น.)

10.50 น. ถึงท่าอากาศยานปาโร เมืองปาโร ประเทศภูฏาน (เวลาประเทศภูฏาน) (เวลาภูฏานเร็วกว่าประเทศอินเดีย 0.30 น.)

ผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองแล้วนำไปโรงแรมที่พัก***

...

ประเทศ ภูฏาน ก่อตั้งโดยพระซับดุง นาวัง นำเยล พระในนิกายมหายาน ซึ่งลี้ภัยจากทิเบตมา เมื่อศตวรรษที่ 17 ได้เดินทางมาพบดินแดนมังกรน้อยสายฟ้านี้เข้า จึงตัดสินใจสร้างเมืองขึ้น และทำการบริหารเมืองออกเป็นสองระบบคือ ฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส แล้วตั้งตนเป็นธรรมราชา ปกครองเมืองด้วยเทวราชา

เมืองมังกรน้อยสายฟ้า ได้เจริญเติบโตและเจริญรุ่งเรืองจนกลายมาเป็นประเทศแล้วได้ขนานนามประเทศตาม สภาพภูมิประเทศที่เป็นที่สูงว่า ภูฏาน หรือภูฐาน

จากนั้นได้ทำการ เลือกกษัตริย์ โดยคณะสงฆ์ และตัวแทนประชาชนได้ประชุมกันที่เมืองปูนาคา หรือพูนาคา การประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้อูเก็น วังซุก เจ้าเมืองตรองสา ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของประเทศ และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์วังซุก มีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีอูเก็น วังซุก

ราชวงศ์วังซุกปกครองประเทศมาจนถึงกษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก รวมทั้งหมด 5 พระองค์

การ ปกครองในสมัยก่อนเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จนกระทั่งปีค.ศ. 1998 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังซุก ได้ทรงเปลี่ยนให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ แทนที่กษัตริย์จะบริหารประเทศเพียงพระองค์เดียวเมื่อค.ศ. 1998

ปัจจุบัน ประเทศภูฏานปกครองด้วยระบบซองดู (รัฐสภาแห่งชาติ) ประกอบด้วยสมาชิกแต่งตั้งจากกษัตริย์ 55 คน และเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง 106 คนมีพรรคการเมือง 2 พรรค

เมืองปาโร หรือเมืองพาโร ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 3120 เมตร อากาศหนาวเย็นตลอดปี เมืองนี้เป็นที่ตั้งรกรากแห่งแรกของชาวภูฏาน ในยุค สร้างบ้าน สร้างเมือง และเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่างประเทศสิกขิม ทิเบต และประเทศภูฏาน

...

ถึงในเมืองปาโร นำเข้าโรงแรมที่พัก Khichu Resort หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารเพล**/กลางวัน ที่โรงแรมที่พัก

13.00 น. หลังอาหารเพล / กลางวัน นำชม:

-ป้อม ปราการรินปุงหรือปาโร ซอง ( ดซอง หมายถึงป้อมปราการ)สร้างเมื่อ ค.ศ. 1646 ต่อมาถูกไฟไหม้เมื่อ ค.ศ. 1907 และได้ทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ให้งดงามเหมือนของเดิม เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Little Buddha ปัจจุบันป้อมปราการปาโรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน:

ส่วนแรกเป็นสำนักที่ทำการเมืองปาโร

ส่วนที่สองเป็นวัด

-พิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน (ตา ซอง) สมัยก่อนเคยเป็นป้อมปราการสร้างเมื่อกลางศตวรรษที่ 17

-ป้อม ปราการดรุกเยล สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะที่ชาวภูฏานมีต่อชาวทิเบต โดยซับดรุง งาวัง นัมเกล เป็นผู้สร้าง เมื่อค.ศ. 1647 และปีค.ศ. 1954ได้ถูกไฟไหม้ เหลือแต่กำแพงป้อม อีก 30 ปี ต่อมาได้ก่อสร้างขึ้นใหม่ตามรูปถ่ายของนิตสาร National Geographic ที่ถ่ายไว้เมื่อ ค.ศ. 1914

-วัดคิชู (Kyichu Lhakhang ...Lhakhang หมายถึงวัด) เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในภูฏานสร้างในค.ศ. 653 มีอายุได้ประมาณ 1365 ปี สร้างในสมัยพระเจ้าเซินกัมโป กษัตริย์ทิเบต

จากนั้นกลับโรงแรมที่พัก Khichu Resort หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

หมายเหตุ *** การเดินทางจากนี้ไปใช้รถโฟวีลไดร์ว (6 ที่นั่ง) เป็นระยะเวลา 8 วัน

** มีสมาชิกบางท่านถือศีล 8 รับประทานอาหาร 11.00 น.

** สุทธิธรรมทัวร์จะจัดไกด์ภูฏานที่พูดภาษาไทยได้ เพราะสถานที่ส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ใช้ล่ามที่เป็นคนต่างชาติ

วันที่เก้า ปาโร - ทิมพู

06.30 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปวัดทักซัง หรือวัดรังเสือ

...

วัด ทักซัง เป็นวัดพุทธแห่งแรก และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงเหนือกว่าระดับพื้นดินหุบเขาปาโรประมาณกว่า 900 เมตร

...

ถึงทางขึ้นวัดทักซัง เดินขึ้นเขาไปประมาณ 2- 3 ชม. (ไม่นับเวลาลงจากเขา) วัดจะปิดเวลา 13.00 – 14.00 น.

รับประทานอาหารเพล / กลางวัน ระหว่างเดินทางบนภูเขา

หลังจากนั้นนำชม:

-วัดดุงเทช

...

วัด ดุงเทช สร้างเมื่อค.ศ. 1433 โดยนายช่างสร้างสะพาน ธังตอง ภายในอาคารทำเป็น 3 ชั้นได้แก่สวรรค์ โลก และนรก ภาพวาดภายในอาคารเป็นภาพวาดที่ดีที่สุดในภูฏาน

...

จากนั้นเดินทางไปเมืองหลวงทิมพู

...

เมือง หลวงทิมพู เป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ปัจจุบันเป็นเมืองศูนย์กลางการศาสนา เศรษฐกิจ การค้า และเป็นเมืองหลวงแห่งเดียวในโลก ที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ทั้งนี้เพราะถนนในเมืองเล็ก มีไม่กี่สาย ดังนั้นมีตำรวจจราจรทำหน้าที่บนท้องถนนเท่านั้น

...

ถึงเมืองหลวงทิมพู นำชม:

-ป้อมปราการตาศิโจหรือตาชิโซ (ดซอง)

...

ป้อม ปราการตาศิโจ สร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ต่อมาอีก 500ปี ในศตวรรษที่ 17 ซับดรุกได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ แล้งตั้งชื่อว่าตาศิโจหรือตาชิโซซองหมายถึง ป้อมปราการแห่งศาสนา

ต่อ มาไฟไหม้และถูกทิ้งร้างเป็นเวลานับร้อยปี จนถึงสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ตอร์จี วังซุก กษัตริย์องค์ที่ 3 ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ทิมพู จึงทรงสร้างป้อมปราการส่วนที่เป็นของฆราวาสขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นสำนักงาน ส่วนเขตสังฆาวาส โปรดให้บูรณะหมือนของเดิม

ปัจจุบันเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราช พระและสามเณร แต่สมเด็จพระสังฆราชจะประทับอยู่เฉพาะเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม จากนั้นจะเสด็จไปประทับที่ปูนาคา (ซอง)

ดังนั้นป้อมปราการนี้จึงเป็น สถานที่ราชการ และ เป็นท้องพระโรงออกว่าราชการของกษัตริย์ เพราะเหตุนี้จึงไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จนกระทั่งถึงเวลา 5 โมงเย็นหรือเวลาหลังราชการ

...

จากนั้นนำไปโรงแรมที่พัก

นำเข้าโรงแรมที่พัก River View Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สิบ ทิมพู – ปูนาคา

08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:

-หอ สมุดและจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นสถานที่ที่เก็บหนังสือเก่า ทางวรรณคดี ประวัติศาสตร์ หนังสือพระไตรปิฎก (มีหนังสือพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย)และหนังสือต่างประเทศที่หายาก

-มหา สถูปอนุสรณ์สถาน เป็นสถูปสร้างเพื่อเป็นที่ระลึก และบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีจิกมี ตอร์จี วังซุก กษัตริย์องค์ที่ 3 สร้างโดยพระราชมารดาของพระองค์

จากนั้นนำกลับโรงแรมที่พัก River View Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารเพล / กลางวัน ที่โรงแรมที่พัก

13.00 น. หลังจากอาหารเพล / กลางวันแล้ว ออกเดินทางไปเมืองปูนาคา

...

เมือง ปูนาขา หรือเมืองปูนาคา เคยเป็นเมืองหลวงเก่าระหว่างค.ศ. 1637-1907 มีอายุกว่า 300 ปี ตั้งอยู่บนที่ราบในหุบเขา สูงจากระดับน้ำทะเล 1300 - 3000 เมตร มีแม่น้ำ 2 สายไหลผ่าน คือแม่น้ำโปหรือแม่น้ำโพ และแม่น้ำโมอยู่ห่างจากเมืองทิมพู 80 กม.

...

ถึงเมืองปูนาคานำเข้าโรงแรมที่พัก Zangthophelri Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สิบเอ็ด ปูนาคา-ตรองสา

08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:

-ป้อม ปราการปูนาคา เป็นป้อมปราการที่สวยที่สุดในภูฏาน เคยใช้เป็นที่ว่าราชการมาก่อน แต่เมื่อย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองทิมพูแล้ว ป้อมปราการนี้จึงใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

หลังจากนั้นเดินทางไปที่เมืองตรองสา

เมือง ตรองสาหรือเมืองตรงสา ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศ ในแคว้นตองสาหรือตรงสา เป็นเมืองต้นกำเนิดของพระราชวงศ์วังซุก และมีธรรมเนียมของการครองราชย์ว่า มกุฎราชกุมารจะต้องมาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรองสาก่อนที่จะเสด็จขึ้นครอง ราชย์สมบัติ

ถึงเมืองตรองสานำเข้าโรงแรมที่ Zangthophelri Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารเพล/ กลางวัน ที่โรงแรมที่พัก

หลังอาหารเพลนำชม:

-ป้อม ปราการตรองสา สร้างเมื่อค.ศ. 1644 โดยซอกเยล มิงยูร์ เตนปา ซึ่งเป็นคนของ ซับตรง งาวัง นัมเยล ส่งมาให้สร้างเมืองทางทิศตะวันออก ต่อมาป้อมปราการนี้ได้ขยายให้ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณป้อมปราการตรองสา มีโบสถ์เก่าแก่ชื่อ จอร์เตน ลาคังหรือชอร์เตน ลาคัง

-พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองตรองสา

จากนั้นกลับโรงแรมที่พัก Zangthophelri Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สิบสอง ตรองสา – บูมทัง

08.00 น. หลังอาหารเช้าออกเดินทางไปเมืองบูมทัง

...

เมือง บูมทัง เป็นถิ่นกำเนิดของพระศาสนา ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วยหุบเขา 4 แห่ง ได้แก่ หุบเขาซูเม หุบเขาโชโกร์ หุบเขาตัง และหุบเขาอูรา และอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 2600-4000 เมตร

...

ถึงเมืองบูมทังนำเข้าโรงแรมที่พัก Yu – Gharling Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารเพล / กลางวันที่โรงแรมที่พัก

หลังอาหารเพล/ กลางวัน นำชม:

-วัดกูร์เชหรือกูร์เจ เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายในประกอบด้วยวิหาร 3 หลังได้แก่

๏ วิหารแรก สร้างเมื่อ ค.ศ. 1652 เป็นสถานที่ที่พระอาจารย์ (กูรู) รินโปเจ (บางแห่งว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ปฐมสัมภามวะ) มาทำสมาธิ เมื่อศตวรรษที่ 8

๏ วิหารหลังที่สองตรงกลาง สร้างโดยปฐมกษัตริย์ อูเยล วังซุก ขณะที่ทรงเป็นเจ้าเมืองตรองสา เมื่อ ค.ศ. 1900 สถานที่นี้เป็นที่พระอาจารย์รินโปเจ ประทับรอยสรีระไว้ ที่วิหารมีรูปปั้นพระอาจารย์รินโปเจประดิษฐานอยู่

๏ วิหารหลังที่สาม สร้างเมื่อ ค.ศ. 1990 โดยพระราชมารดาพระนางอศิ เกซัง โจเดน วังซุก ทั้ง 3 วัดมีพระสถูปล้อมรอบ108 องค์ บริเวณหน้าวัดทั้ง 3 วัด มีสถูป 3 องค์สร้างถวายแด่กษัตริย์ 3 พระองค์แรกแห่งภูฏาน

เหนือบริเวณวัดขึ้น ไปประมาณ 100 เมตร มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เชื่อกันว่าพระอาจารย์ (กูรู) รินโปเจ เสกขึ้นมา ต้นไซปรัสที่อยู่บริเวณทางเข้า เชื่อกันว่างอกจากไม้เท้าของพระอาจารย์รินโปเจ

หลังจากนั้นนำกลับโรงแรมที่พัก Yu – Gharling Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สิบสาม บูมทัง – วังดูอีโพดรัง

08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:

-วัด จัมเบย์หรือวัดจัมปา เป็นหนึ่งในสองวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภูฏาน สร้างเมื่อศตวรรษที่ 7 โดยกษัตริย์ทิเบต พระเจ้า สองท์เสน และเป็น 1ใน 108 วัดที่สร้างไว้ปราบภูตผีปีศาจร้ายแห่งเทือกเขาหิมาลัย

-วัดทัม ศิง เป็นหนึ่งในสี่วิทยาลัยสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุด ของชาวพุทธธิเบต สร้างเมื่อค.ศ. 1501โดยเตร์ตัน เพมะ ลิงปา ซึ่งเชื่อกันว่าพระโพธิสัตว์ปัทมสัมภวะกลับชาติมาเกิด

หลังจากนั้นกลับโรงแรมที่พัก Yu – Gharling Hotel หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารเพล / กลางวันที่โรงแรมที่พัก

หลังอาหารเพล / กลางวัน ออกเดินทางไปเมืองวังดูอีโพดรัง

ถึงเมืองวังดู โพดรังนำเข้าโรงแรมที่พัก Khichu Resort หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สิบสี่ วังดูอีโพดรัง – ปาโร

08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:

-ป้อม ปราการวังดูอี หรือป้อมปราการวังดิ สร้างเมื่อ ค.ศ. 1638 โดยชับดรุง เคยเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของภูฏาน จนกระทั่งป้อมปราการตรองสาสร้างเสร็จ เมื่อ ค.ศ.1644 จึงลดความสำคัญลง

เจ้าเมืองวังดูอิ โพดรังเป็นผู้ที่มีอำนาจเป็นอันดับสามของประเทศ อำนาจแห่งป้อมปราการนี้สามารถบังคับเมืองตรองสา เมืองปูนาคา เมืองดากนะ และเมืองหลวงทิมพูได้ ป้อมนี้ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หลังจากถูกไฟไหม้เมื่อ ค.ศ. 1837 และแผ่นดินไหว ค.ศ. 1897

หลังจากนั้น ออกเดินทางไปเมืองปาโร

รับประทานอาหารเพล / กลางวัน ที่ภัตตาคาร / โรงแรม ระหว่างทาง

ถึงเมืองปาโรนำเข้าโรงแรมที่พัก Khichu Resort หรือเทียบเท่า

รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

[วันที่สิบห้า ปาโร - สมุทรปราการ

07.00 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปท่าอากาศยานปาโร

10.15 น. (เวลาประเทศภูฏาน) ออกเดินทางจากท่าอากาศยานปาโร เมืองปาโร ประเทศภูฏาน ไปจ. สมุทรปราการ ประเทศไทย โดยเครื่องบินของสายการบิน ดรุก แอร์ไลน์เที่ยวบินที่ KB 126 (ระยะทางประมาณ 1183.8 กม. ใช้เวลาบินประมาณ 2 ชม. 40 นาที)

15.10 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ. สมุทรปราการ ประเทศไทย โดยสวัสดิภาพ

# รายการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

อัตราค่าเดินทาง:

15 คน 134,000.00 บาท

20 คน 132, 000.00 บาท

32 คน 121,000.00 บาท

ส่วนราคาห้องเดี่ยวเพิ่ม 24,000.00 บาท

อัตรานี้รวม: ตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ
สมุทรปราการ – คูวาหะติ
คูวาหะติ – ปาโร
ปาโร – สมุทรปราการ

ห้องพักและอาหารทุกมื้อ

ค่านำเที่ยว, ค่าชมสถานที่ต่างๆ ซึ่งระบุไว้ในรายการ
ค่ารถตลอดเส้นทางการเดินทาง: รถโฟลวีลไดร์ว

ค่าประกันอุบัติเหตุในวงเงิน 1,000,000 บาท

ค่าประกันรักษาพยาบาลในวงเงิน100,000 บาท

ผู้ติดตามอำนวยความสะดวก

วีซ่าและภาษีสนามบิน


อัตรานี้ไม่รวม:
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ไม่ระบุไว้ในรายการ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มที่สั่งเอง
-ค่าน้ำหนักเกินจากสายการบินกำหนด 20 กิโลกรัม
-ค่าทิปไกด์ท้องถิ่นและคนขับรถภูฎาน

*** กำหนดยืนราคาถึง 30 เมษายน 2556 นี้เท่านั้น

หมายเหตุ : ท่านผู้ใดถือศีลแปด และท่านผู้ใดไม่รับประทานอาหารบางอย่าง
บางชนิด กรุณาแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในเวลาสั่งจองทัวร์

การขอวีซ่า

อินเดีย

เอกสารการขอวีซ่าอินเดีย

- หนังสือเดินทางมีอายุการใช้งานเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า

- รูปถ่ายขนาดพิเศษ 2 นิ้วครึ่ง คูณ 2 นิ้วครึ่ง และพื้นหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น(กรุณาแจ้งร้านถ่ายรูปว่าต้องการขนาดพิเศษ 2 นิ้วครึ่ง คูณ 2 นิ้วครึ่งเท่านั้น!!!) ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป ( พร้อมเขียนชื่อหลังรูป )

- สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ( สำคัญค่ะ )

ภูฏาน

เอกสารการขอวีซ่าภูฏาน:

- พาสปอร์ตมีอายุการใช้งานเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า

การยื่นขอวีซ่า :

- ทางบริษัทฯ เป็นผู้ยื่นขอวีซ่าให้ โดยส่งสำเนาหน้าพาสปอร์ตและรูปถ่ายไปให้กับทางบริษัททัวร์ภูฏาน

- บริษัททัวร์ภูฏานเป็นคนยื่นเอกสารขอวีซ่าจากการท่องเที่ยวภูฏานที่เมืองทิมพู (ซึ่งใช้ เวลาประมาณ 7 วัน)

- วีซ่าภูฏาน สถานฑูตประเทศภูฏานทุกประเทศไม่สามารถออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวได้ คนที่ ออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวได้คือการท่องเที่ยวภูฏานที่เมืองทิมพูเพียงแห่ง เดียวและต้องให้บริษัททัวร์ภูฏานเป็นผู้ยื่นให้เท่านั้น(นักท่องเที่ยวไม่ สามารถขอวีซ่าเองได้ )


เกี่ยวกับการเดินทาง

ข้อสำคัญเกี่ยวกับการเดินทางไปประเทศอินเดีย – ประเทศภูฏาน

ประเทศอินเดีย

รัฐ อัสสัมเป็นเขตหวงห้ามตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง จนถึงปัจจุบันที่อยู่ใต้การปกครองของอินเดีย ใครที่จะเข้ารัฐอัสสัมจะต้องขออนุญาตเป็นพิเศษ ถ้าได้รับอนุญาตแล้ว จะมีตราประทับอนุญาตให้ผ่านเข้าได้บนวีซ่า

จากรัฐอัสสัมเข้ารัฐอรุณ จัลประเทศ หรือรัฐอรุณจัลประเทศเข้ารัฐอัสสัมจะต้องผ่านด่านตรวจ เจ้าหน้าที่จะขอดูหนังสือการเดินทางทุกครั้งที่ผ่าน (สำหรับชาวต่างประเทศ)

ประเทศภูฏาน

1. การเข้าประเทศภูฏานต้องเดินทางไปกับบริษัททัวร์เท่านั้น ประเทศภูฏานไม่อนุญาตให้เดินทางโดยส่วนตัว

2. การยื่นแบบฟอร์มขอวีซ่าจะต้องยื่นพร้อมกับรายการการเดินทาง ใบเสร็จรับเงินจากสายการบินดรุก แอร์ไลน์ และค่าชำระทางเดินทางทั้งหมด (บริษัททัวร์จะดำเนินการให้)

3. ทางสถานทูตจะปฏิเสธแบบฟอร์มขอยี่นวีซ่าถ้าไม่มีใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทสายการบินดรุ๊กแอร์ ใบเสร็จชำระค่าเดินทางทั้งหมด

4. ทางสถานทูตจะส่งเอกสารไปที่กระทรวงต่างประเทศ ณ ประเทศภูฏาน แล้วกระทรวงต่างประเทศจะแจ้งหมายเลขวีซ่าของผู้ขอไปที่บริษัท สายการบินดรุ๊ก แอร์ และบริษัททัวร์เพราะฉะนั้นหมายเลขวีซ่าจะต้องได้รับก่อนการเดินทาง

5. แบบฟอร์มการขอวีซ่าและเอกสารต่างๆ จะต้องถึงกระทรวงต่างประเทศ ที่ประเทศภูฏานอย่างน้อยก่อนการเดินทาง
5 สัปดาห์

6. วีซ่าจะประทับตราให้ที่สนามบินปาโร สำหรับเดินทางโดยเครื่องบินและที่เมืองพุนท์โศลิง สำหรับเดินทางโดยรถยนต์จากอินเดียเข้า
ภูฏาน (ภูฏานจะอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศทางรถยนต์ได้ แต่จะต้องใช้บริการสายการบินดรุ๊ก แอร์ไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง)


สิ่งที่ควรนำไป

การเตรียมตัวเพิ่มเติมก่อนออกเดินทางสู่อินเดีย

- ตามกฎของสายการบิน ห้ามนำของเหลวทุกชนิดใส่ในกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง และของมีคม
เช่น มีด กรรไกร ที่ตัดเล็บ ส้อม ไฟแช๊ค มีดพับ ( ถ้านำไปกรุณาใส่ใน กระเป๋าเดินทางใบใหญ่เพื่อนำเข้าใต้เครื่อง )

- ควรเตรียมกระดาษทิชชูไปด้วย เพราะที่อินเดียมีราคาแพงและคุณภาพไม่ดี

- ไฟฉาย ( ไฟฟ้าที่อินเดียดับบ่อย ) ร่ม หรือหมวก ( เดือนตุลาคมอากาศอาจมีฝนบ้างนิดหน่อยที่
เมืองกัลกัตตาค่ะ จะเป็นปลายฝน ควรเตรียมร่มจะเป็นสิ่งที่ดีค่ะ )

- สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาไปให้พอกับจำนวนวันที่เดินทาง เพราะที่อินเดียหา
ซื้อยาก และมีราคาแพง

- กล้องถ่ายรูป วีดีโอ ถ้าท่านนำไปควรเตรียมถ่าน ฟิล์ม การ์ด และปลั๊กต่อชนิดขากลมไปด้วย เพื่อชาร์ทเครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ

- อาหารที่ท่านชอบส่วนตัว ( สำหรับท่านที่ทานอาหารยาก )

- กระเป๋าเดินทางที่นำไปควรแข็งแรงมีกุญแจล๊อค ( น้ำหนักไม่เกิน 20 กก. )
เครื่องแต่งกาย ควรเป็นแบบซักแล้วไม่ต้องรีด จะมีเวลาซักตามจุดที่มีการค้างคืนเกิน 1 คืน ในที่เดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงรายการ การเดินทางอาจมีปัญหาเฉพาะหน้าขึ้น เพราะในประเทศอินเดียมีอะไร
ที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแบบฉับพลันได้เสมอ ผู้บริการขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายการตามความ
เหมาะสม แต่จะรักษาสิทธิ์ของท่านเต็มที่ และจะแจ้งให้ผู้เดินทางทราบก่อนการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง

สิ่งที่ควรนำไปด้วย : ยาประจำตัว และสิ่งที่ท่านคิดว่าควรจะนำไปสำหรับตัวท่านเอง

การเตรียมตัวเพิ่มเติมก่อนออกเดินทางสู่ภูฏาน

- สำหรับการขึ้นไปวัดรังเสือ: รองเท้าที่เดินสบาย ไม้เท้า เสื้อที่ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย อากาศบนที่สูงจะเบาบาง ควรจะมียาไปสูดดม ถ้ารู้สึกเหนื่อย

- มือถือระบบจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ ของไทย สามารถนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานได้ในภูฏาน

- หากจะโทรศัพท์จากประเทศไทยสู่ประเทศภูฎาน จะหมุน 001 + 975 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ

- กระแสไฟที่ใช้คือ 220 โวลท์ เหมือนบ้านเรา แต่เป็นปลั๊กชนิด 3 ขากลม หากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องหาขาแปลงไปด้วย

- น้ำประปา ไม่ควรที่จะดื่มน้ำโดยตรงจากก๊อก ควรซื้อน้ำขวดดื่ม

- ภูฏาน ใช้สกุลเงินนูงล์ตรัม Ngultrum (เรียกสั้นๆว่า นู-Nu) โดย 100 นูงล์ตรัม ประมาณ 55 บาทกว่า โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตราใกล้เคียงกับรูปีของอินเดีย (Indain Rupee) เราสามารถจ่ายเงินดอลลาร์ ได้ในประเทศนี้ 1 USD อยู่ทีประมาณ 45 นูงล์ตรัม

- การใช้บัตรเครดิตในภูฏาน มีเพียงร้านค้าใหญ่ในเมืองบางแห่งรับบัตรเครดิตของอเมริกัน เอ็กซ์เพรส และวีซ่าได้


วิธีการชำระเงิน

เงื่อนไขในการชำระเงินที่ใช้ในการเดินทาง ขอให้ท่านจ่ายเงินเป็นการสำรองที่นั่งก่อน
ท่านละ 25,000 บาท


ส่วนที่เหลือทั้งหมดขอให้ท่านชำระก่อนออกเดินทางไม่ต่ำกว่า 20 วัน ได้ที่.........


นายชำนาญ สุทธิ - ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระประแดง บ/ช ออมทรัพย์ 125-4078015

นางอนิสา สุทธิ

1. ธนาคารกรุงไทย บ/ช ออมทรัพย์ สาขาพระประแดง 216-0-26092-4
2. ธนาคารกสิกรไทย บ/ช ออมทรัพย์ สาขายานนาวา 013-2-51493-3
3. ธนาคารไทยพาณิชย์ในนาม “ สุทธิธรรมทัวร์” บ/ช ออมทรัพย์ สาขาพระประแดง 303-2-793669

หลัง จากโอนแล้วกรุณาส่งสลิปใบโอนเงิน เขียนชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ คณะ วันที่เดินทางทริปไหน แฟ๊กซ์หลักฐานมาที่ 02-4610027 มิฉะนั้นจะไม่ทราบว่าเป็นของท่านผู้ใดค่ะ


( เงินติดตัวใช้เงินไทย หรือเงินดอลลาร์ แลกเป็นเงินของแตต่ละประเทศได้ที่หัวหน้าทัวร์ เงินเหลือแลกคืนในอัตราเดียวกันครับท่าน )


กรณียกเลิกการเดินทาง


1. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 30 วันขึ้นไป คืนเงินทั้งหมด


2. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 15 วันขึ้นไป เก็บค่าใช้จ่าย ท่านละ 5,000 บาท


3. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 7-14 วัน เก็บค่าใช้จ่าย 50 % ของราคาทัวร์


4. ยกเลิกก่อนการเดินทาง 1-6 วัน เก็บค่าใช้จ่าย 100 % ของราคาทัวร์

ททท.

ใบ กรมการทองเทยว

ใบจดทะเบียนบริษัท

IMG 20180328 0001

ใบจดทะเบียนบริษัท

ทะเบยนบรษท

Copyright (c) Sutthitham Tour 2016. All rights reserved.