• Home
เรียน ท่านผู้เดินทาง วีซ่าเข้าอินเดียต้องใช้รูปถ่าย 3 ใบ พื้นหลังสีขาว และต้องขนาดพิเศษ 2 X2 นิ้วเท่านั้น!!!(ส่วนมากจะส่งผิดมาเป็น1นิ้วครึ่ง X2นิ้วค่ะ)

ตัวอย่างโปรแกรมทัวร์เลียบฝั่งตะวันออกสู่อินเดียใต้ 12 วัน

บอกกล่าว...เล่าความ

โปรแกรมเลียบฝั่งตะวันออกสู่อินเดียใต้ วันที่ 17 – 28 กุมภาพันธ์ 2559 รวมเวลา 12 วัน เป็นโปรแกรมใหม่ที่จัดทำโดยอาจารย์ประณีตก้องสมุทรและคณะ สำหรับทุกท่านผู้สนใจโปรดติดตามได้ตามรายละเอียดด้านล่าง

วันแรก สมุทรปราการ – เดลี – ภูบเนศวระ

06.00 น. พร้อมกันที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, จ. สมุทรปราการ พบกันที่บริเวณเคานเตอร์ แอร์อินเดีย ประตูทางเข้าที่ 10 แถวดับเบิ้ลยู (W)
08.50 น. (เวลาประเทศไทย) เดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเครื่องบินของสายการบิน แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ AI 333 ไปยังกรุงเดลี
ประเทศอินเดีย (ระยะทาง 2917.88 กม., เวลาบิน 4 ชม. 45 นาที)
12.05 น. (เวลาประเทศอินเดีย) ถึงท่าอากาศยานอินทิรา คานธี กรุงเดลี ประเทศอินเดีย เวลาประเทศอินเดียช้ากว่าประเทศไทย 1ชม. 30นาที เพื่อเปลี่ยนเที่ยวบิน
19.00 น. ออกเดินทางจากท่าอากาศยานอินทิรา คานธี กรุงเดลี โดยสายการบิน IndiGo เที่ยวบินที่ 6E-341 ไปยังเมืองภูบเนศวระ
20.55 น. ถึงท่าอากาศยานภูบเนศวระ ( พีชู ปตเนกะ) เมืองภูบเนศวระ รัฐโอริสา เดินทางไปโรงแรมที่พักโดยรถโฟร์วิล
ถึงโรงแรมที่พัก Mayfair Lagoon, นำเข้าโรงแรมที่พัก
อาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน
หมายเหตุ: ใช้รถโฟร์วิลตั้งแต่วันแรกถึงวันที่สี่

วันที่สอง ภูบเนศวระ – รัตนคีรี – อุทยคีรี – ลลิตคีรี – ลนคูทิ
07.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมที่พัก
08.00 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปรัตนคีรี

ถึงรัตนคีรี นำชม:
∞ พุทธโบราณสถานรัตนคีรี
∞ พิพิธภัณฑ์รัตนคีรี
***พุทธ โบราณสถานรัตนคีรี สร้างในสมัยพระเจ้านรสิมหะ พละทิตยะ คุปตะ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาของพระสงฆ์ และเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยปุสปะคีรี ซึ่งมีอาณาบริเวณเนื้อที่ครอบคลุมภูเขาสามลูกได้แก่ รัตนคีรี อุทยคีรี และลลิตคีรี ปัจจุบันนี้ซากมหาวิทยาลัยปุสปะคีรีอยู่บนบริเวณยอดเขาลนคุทิ ส่วนรัตนคีรีต่อมากลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่โตไม่แพ้ มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา หรือวิกรมศิลาหรือตักศิลา
***พิพิธภัณฑ์รัตนคีรี เป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปแกะสลัก และวัตถุโบราณมากมายส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยคุปตะ
ถวาย เครื่องสักการะบูชา / ห่มผ้าพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในพระอารามเล็กเศียรพระพุทธรูปที่แกะสลักจากก้อนหินมหึมา ทั้งก้อนพระสถูป

ถึงอุทยคีรี นำชม:
∞ ถ้ำพุทธอุทยและขัณฑคีรี
∞ พุทธโบราณสถานอุทยคีรี
***พุทธโบราณสถานอุทยคีรี เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยปุสปะคีรี
ถวายเครื่องสักการะบูชา / ห่มผ้า พระสถูป

จากนั้นเดินทางไปที่ลลิตคีรี

ถึง ลลิตคีรี นำชม:
∞ พุทธโบราณสถานลลิตคีรี
∞ พิพิธภัณฑ์ลลิตคีรี
***พุทธ โบราณสถานลลิตคีรี เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุดสร้างในสมัยสุนคะก่อนคริสต์ศตวรรษที่2 เริ่มแรกสร้างเป็นมหาวิทยาสงฆ์เถรวาท ต่อมาเมื่อมหายานมีอิทธิพลขึ้น การศึกษาสงฆ์แห่งนี้จึงกลายเป็นมหายาน และเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยปุสปะคีรี
***พิพิธภัณฑ์ลลิตคีรี ประดิษฐ์ฐานผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผอบทำมาจากหินแปรรูป
ถวายสิ่งสักการะบูชา / ห่มผ้าพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปปางไสยาสน์
พระสถูป วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 15 เมตร ลักษณะเหมือนสาญจีสถูป ครึ่งวงกลมคว่ำ

จากนั้นเดินทางไปที่ลนคุทิ

ถึง ลนคุทิ นำชม
∞ พุทธโบราณสถานลนคุทิ
∞ พระสถูป
***พุทธ โบราณสถานลนคุที จากการเริ่มขุดสำรวจตั้งแต่ค.ศ. 1996 จนถึง 2000 ได้พบพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช องค์พระสถูปฐานยาว 22.67 เมตร X ฐานกว้าง 18.26 เมตร X สูง 2.74 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 18.26 เมตร และเป็นพุทธศาสนสถานฝ่ายเถรวาท
แผ่นศิลาจารึกชื่อของพระเจ้าอโศกมหาราช แผ่นรัศมีอโศก
ถวายสิ่งสักการะบูชา / ห่มผ้า พระสถูป หลังจากนั้นเดินทางกลับโรงแรมที่พัก

นำเข้าโรงแรมที่พัก Mayfair Lagoon
อาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน


วันที่สาม ภูบเนศวระ – เธาลี – ภูบเนศวระ – โกนะรัก – ปุรี

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปเธาลี

ถึง เธาลี นำชม:
∞ ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช
∞ ช้างศิลาพระเจ้าอโศกมหาราช
∞ สันติสถูป
∞ สมรภูมิกลิงคะ
ถวายสิ่งสักการะบูชาสถูปสันติ
***เธา ลี ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสมรภูมิรบระหว่างพระเจ้าอโศกมหาราชกับชาวกลิงคะ การรบในครั้งนั้นชาวกลิงคะได้เสียชีวิตนับแสน ชัยชนะที่ได้มาจากโลหิตที่ไหลนองท่วมแผ่นดิน ทำให้พระหฤทัยของพระเจ้าอโศกมหาราชรุ่มร้อนหมองหม่นและทรงพยายามให้ความเร้า ร้อนหายไปจากพระองค์ ในที่สุดพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงพบแสงสว่างอันบริสุทธิ์ที่สามารถดับความ ทุกข์ ความเร้าร้อน ความเศร้าหมองที่เกิดกับพระองค์ แสงสว่างบริสุทธิ์ได้ทำให้พระองค์เป็นพุทธอุปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ แสงสว่างบริสุทธิ์ที่ชักนำให้พระเจ้อโศกเป็นอโศกที่ยิ่งใหญ่จนได้สมญานามว่า มหาราช นั้นได้แก่ แสงสว่างแห่งธรรมะ
***แคว้นกลิงคะ เป็นแคว้นที่ทรงอิทฺธิพลและเข้มแข็งมากทางฝั่งตะวันออกของอนุทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นแผ่นดินต้นตระกูลพระปัยยิกา (ยายทวด) ของพระเจ้าวิชัย ปฐมกษัตริย์แห่งเกาะตัมพปัณณิ (ประเทศลังกา)และเป็นบ้านเกิดของพระเจ้านิสสยกะ มัลละกษัตริย์แห่งกรุงโปโลนนะรุวะ เกาะตัมพปัณณิ
ปัจจุบันแคว้นกลิงคะ อยู่ในรัฐโอริสสสาพระเจ้าอโศกมหาราชทรงพลิกแผ่นดินที่นองไปด้วยโลหิตให้เป็น แผ่นดินที่ร่มเย็นแห่งธรรมะ พระองค์ทรงทำให้ดินแดนกลิงคะเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายมหายานได้มีอิทธิพลเหนือดินแดนแถบนี้ และทำให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีมหาวิทยาลัย สงฆ์ที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่หลายแห่งครอบคลุมภูมิภาคแห่งนี้ไม่แพ้ มหาวิทยาลัยวลภี ฝ่ายเถรวาท, มหาวิทยาลัยนาลันทา ฝ่ายมหายาน, มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ฝ่ายเถรวาท

จากนั้นเดินทางไปบริเวณวัดภสกเรสวระ
ถึงบริเวณใกล้ วัดภสกเรสวระ นำชมและนมัสการ:
∞ พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
∞ แผ่นศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช
ถวายสิ่งสักการะบูชาพระสถูป

จากนั้นเดินทางไปวัดลิงคไร
ถึงวัดลิคไร ถ่ายรูป

ได้เวลาอันสมควรเดินทางกลับโรงแรมที่พัก Mayfair Lagoon
ถึงโรมแรมที่พัก Mayfair Lagoon, รับประทานอาหารกลางวัน

หลังอาหารกลางวัน ออกเดินทางไปโกนะรัก/ โกนารัก
ถึงโกนะรัก นำชม:
∞ โบสถ์สุริยะเทพ
ได้เวลาอันสมควรเดินทางไปเมืองปุรี

ถึงเมือง ปุรี นำชม:
∞ วัดชคันนาถ
***โบสถ์ ชคันนาถ เคยเป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาล่าง ในสมัยพระเจ้าคูหะศิวะ เมื่อพระเจ้าคูหะศิวะทำสงครามกับบรรดาหลานของพระเจ้ากชีริทระ ทำให้พระเจ้าคูหะศิวะเป็นห่วงพระเขี้ยวแก้วจึงให้พระธิดาเหมมละวะหรือรนะวลี หรือเหมมา อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปเกาะตัมพปัณณิกับเจ้าชายทันตกุมาระ พระสวามี
ในสมัยพุทธกาลเมืองปุรีมีชื่อว่าทันตปุระ อยู่ในแคว้นกลิงคะ/กลิงค์ ปัจจุบันพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาล่างประดิษฐ์ฐานที่วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา

จากนั้นนำไปโรงแรมที่พัก
ถึงโรงแรมที่พัก Toshali ( Toshali Sands), นำเข้าโรงแรมที่พัก
อาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สี่ ปุรี – ภูบเนศวระ – ไฮเดรบาด – นาคารชุณสคระ

06.00 น. ออกเดินทางไปท่าอากาศยานภูบเนศวระ
10.15 น. ออกเดินทางจากท่าอากาศยานภูบเนศวระ เมืองภูบเนศวระ รัฐโอริสสา โดยสายการบิน IndiGo เที่ยวบินที่ 6E 263 ไปเมืองไฮเดรบัด
11.50 น. ถึงท่าอากาศยานราชิว คานธี (ราชีฟ คานธี)/ท่าอากาศยานไฮเดรบาด เมืองไฮเดรบาด/เมืองไฮเดอราบาด รัฐอันธรประเทศ
ขึ้นรถโค้ชไปรับประทานอาหารกลางวันที่ภัตตาคาร/โรงแรม
หลังอาหารกลางวันเดินทางไปเมืองนาคารชุณสคระ/นาคารชุณสาคระ

ถึงเมืองนาคารชุณสาคระ
นำเข้าพักโรงแรมที่พัก Vijay vihar Haritha Telangana State Tourism
อาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่ห้า นาคารชุณสคระ – เกาะนาคารชุณกอนดา – อนุปุ –คุนตุร์
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปขึ้นเรือใหญ่ข้ามฟากไปเกาะนาคารชุณกอนดา

ถึง เกาะนาคารชุณกอนดา นำชม:
∞ พิพิธภัณฑ์
∞ มหาสถูป
∞ พระพุทธรูป และพุทธโบราณสถาน
ถวายสักการะบูชา / ห่มผ้าพระบรมสารีริกธาตุ มหาสถูป พระพุทธรูป
รับประทานอาหารกลางวันที่เกาะนาคารชุณกอนดา
***นา คารชุณสคระ/นาคารชุณสาคระ เคยเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรอิกษวะกุชื่อว่า วิชยะปุรี ต่อมาอาณาจักรนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสตวหนะ แห่งที่ราบสูงเดคคานตะวันออก เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคแถบนี้ มีการสร้างวัดที่นครหลวงวิชยะปุรี และได้กลายเป็นศูนย์กลางการสอนและเรียนพุทธศาสนาแห่งอินเดียใต้ โดยมีอาจารย์นาคารชุณะ เป็นผู้ปกครองดูแลเกือบ 60 ปี ต่อมาจึงได้ใช้นามของท่านเรียกชื่อเมืองแทนชื่อเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่อมีการสร้างเขื่อนนาคารชุณะเมื่อค.ศ. 1960 ทำให้
บางส่วนของเมืองและ วัดอยู่ใต้บาดาล แต่ได้กู้บางส่วนของวัดขึ้นมาไว้บนยอดเขานาคารชุณสาคระ ซึ่งได้กลายเป็นเกาะในเขื่อนมีชื่อว่า นาคารชุณะกอนดา
บนเกาะนาคารชุณะ กอนดา จะประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ ส่วนสำคัญในพิพิธภัณฑ์ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ จากพระสรีระส่วนต่างๆ ของพระพุทธองค์ อาทิ พระทันตธาตุ เป็นต้น พระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ได้ขุดพบที่นาคารชุณสาคระ โครงสร้างของวิหาร สถูป พระพุทธรูป เป็นต้น
***ศาสนโบราณสถาน เป็นที่ตั้งของ มหาสถูป ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, สวาสติกะสถูป โพธิสรีสถูป พระพุทธรูป วัด วิหาร อัฒจันทร์
ได้เวลาอันสมควรนำกลับขึ้นฝั่ง แล้วนำไปที่อนุปุ

ถึงอนุปุ นำชม:
ซากมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งได้ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และอยู่หลังเขื่อนไม่ถูกน้ำท่วม
จากนั้นเดินทางต่อไปที่เมืองคุนตุร์

ถึง เมืองคุนตุร์ นำเข้าโรงแรมที่พัก Hotel Grand Nagarjuna
อาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน


วันที่หก คุนตุร์ – อมราวตี –ภัตติโปรลุ - เนลโลเร

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเช้าออกเดินทางไปเมืองอมราวตี
ถึง เมืองอมราวตี นำชม:
∞ มหาสถูป
∞ พิพิธภัณฑ์
∞ พระพุทธธยะนะ
ถวายเครื่องสักการะบูชา/ห่มผ้า
***มหาสถูป ขนาด 50 เมตร สูง 27 เมตร (เหลือแต่ขนาด ความสูงไม่มี)
พระบรมสารีริกธาตุ
พระพุทธธยะนะ พระพุทธธูปยืนกลางเมือง
***เมืองอม ราวตี เคยเป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรสตวหนะ มีชื่อว่า ธนยะกตกะ ต่อมาเมื่ออาณาจักรสตวหนะเสื่อมลงอาณาจักรอันธรอิกษวะกุ เริ่มมีอำนาจและก็เสื่อมลง อาณาจักรจลุกยาส์ตะวันออกได้แผ่อำนาจจากตะวันตกสู่ภูมิภาคตะวันออก และปกครองภูมิภาคแห่งนี้จนกระทั่งถึงยุคเสื่อมลง อาณาจักรเตลุคุโจละ เริ่มมีอำนาจและได้ปกครองภูมิภาคแห่งนี้จนหมดสิ้น เมืองอมราวดีก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเตลุคุโจฬะ
***พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองอมราวตีได้ชื่อว่า พระตำหนักของพระบรมสารีริกธาตุ (House of Relics) เป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ขุดพบที่รัฐอันธรประเทศมีทั้งหมด 17 แห่ง พร้อมกับได้แสดงสถานที่ที่ได้ขุดพบ มีพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสถานที่ต่างๆที่ศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองภูมิภาคแห่งนี้ เป็นต้น
พระ พุทธศาสนา ได้เข้ามาสู่ภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราชวงศ์สตวหนะได้เป็นกำลังสำคัญยิ่งในการเผยแพร่และทำให้ศาสนาพุทธมีความ เจริญขึ้นกษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์ทรงมีความรักและศรัทธาในพระเจ้าอโศก มหาราชอย่างมั่นคง นับตั้งแต่ได้เสียอาณาจักรสตวหนะให้กับพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอาณาจักรเมารยัน
ได้เวลาอันสมควรนำกลับโรงแรมที่พัก Hotel Grand Nagarjuna

ถึงโรงแรมที่พัก Hotel Grand Nagarjuna, รับประทานอาหารกลางวัน
หลังอาหารกลางวัน ออกเดินทางไปเมืองเนลโลเร ระหว่างทางแวะหมู่บ้านภัตติโปรลุ

ถึง หมู่บ้านภัตติโปรลุ นำชมและนมัสการ
∞ พระสถูปภัตติโปรลุ
ถวายเครื่องสักการะบูชา/ห่มผ้า พระสถูป มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร ฐานกว้าง 2.4 เมตร
***หมู่ บ้านภัตติโปรลุ เคยเป็นเมืองพุทธศาสนาแห่งอาณาสาละ/สะละ เป็นที่ตั้งพระสถูปภัตติโปรลุ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เวลาล่วงมาจนถึงค.ศ. 1870 ได้พบพระสถูปและได้ขุดสำรวจพระสถูปในปีค.ศ.1892 โดยมิสเตอร์ อเล็กซานเดอร์ เร การขุดสำรวจในครั้งนั้นได้พบผอบแก้วผลึกซึ่งมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชาที่ทำด้วยอัญมณี ประดิษฐ์ฐานอยู่ตรงกลางภายในพระสถูป ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีฐานกว้าง 2.4 เมตร ภายในพระสถูปมีพระพุทธรูปหลายองค์ พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชาที่ทำด้วยทองแดง เงิน ทอง ลูกปัดที่ทำจากกระดูกและแก้วผลึก
พระบรมสารีริกธาตุที่ภัตติโปรลุ ทางการอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้มอบให้สมาคมมหาโพธิ แต่มีข้อแม้ว่า ทางสมาคมมหาโพธิจะต้องสร้างพระวิหารสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นให้ เหมาะสม
ที่โกลกัตตา ที่สารนาถ และที่ตักกสิลา ท่านธัมมะปาละได้สร้างพระวิหารที่โกลกัตตาเป็นแห่งแรก และสำเร็จลงได้รับพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐ์ฐานไว้เรียบร้อย ต่อมาได้สร้างพระวิหารที่สารนาถเป็นแห่งที่สอง เมื่อสร้างเสร็จพระวิหารมีชื่อว่า มูลคันธกุฏิวิหาร ผู้แทนรัฐบาลอินเดียได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ผู้แทนของสมาคมมหาโพธิ พระบรมสารีริกธาตุส่วนนี้ประดิษฐ์ฐานอยู่ใต้พื้นดินตรงบริเวณแท่นบูชาพระ พุทธรูป
เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา บ้านธัมมะ โดยมีอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์เป็นประธาน ได้ทำพระเจดีย์ทองคำไปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากภัตติโปรลุ และเมืองโบราณตักกสิลา เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุในพระเจดีย์ทองคำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้อัญเชิญนำกลับลงไปประดิษฐ์ฐาน ณ ที่เดิม ถ้าผู้ใดได้ไปนมัสการพระพุทธรูปในมูลคันธกุฏิวิหาร บางคณะพระท่านจะนำเจดีย์มาครอบศีรษะให้สิ่งที่บรรจุในพระเจดีย์ที่ครอบศีรษะ ให้นั้น เป็นพระธาตุของพระสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ใช่พระบรมสารีริกธาตุที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุจะมีผู้ถือกุญแจไว้ 3 คน เมื่อ 3 คนมาพร้อมกับกุญแจ 3 ดอก จึงจะเปิดห้องพระบรมสารีริกธาตุได้

ถึง เมืองเนลโลเร นำเข้าโรงแรมที่พัก Hotel Leo หรือ D.R.UTTHAMA
รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรม, พักค้างคืน
หมายเหตุ การถวายเครื่องสักการะบูชาจะหมดที่สถูปภัตติโปรุ

วันที่เจ็ด – มหาพาลีปุรัม

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังรับประทานอาหารเช้า พาชมเมืองเนลโลเร
จากนั้นเดินทางไปเมืองมหาพาลีปุรัม/มหาบาลีปุรัม
อาหารกลางวันระหว่างทาง

ถึง เมืองมหาพาลีปุรัม/มหาบาลีปุรัม รัฐทมิฬนาดุ/รัฐทมิฬนาดู
นำเข้าโรงแรมที่พัก Sea Breeze
รับประทานอาหารค่ำที่โรแรมที่พัก, พักค้างคืน


วันที่แปด มหาพาลีปุรัม – คานไคโกนทะโจละปุรัม – กุมพโจนาม
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:
∞ วัดมหาพาลีปุรัมบนชาดหาด
∞ หินแกะสลักวัดในรูปแบบรถศึก
∞ หินแกะสลักในรูปแบบพุทธสถาปัตยกรรม
∞ หินแกะสลักรูปช้าง
ประติมากรรมทั้งหมดนี้อยู่บนชาดหาดทรายมารีน่า อ่าวเบงกอลมหาสมุทรอินเดีย
ได้เวลาสมควรนำกลับโรงแรมที่พัก Sea Breeze
รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมที่พัก
13.00 น. หลังอาหารกลางวัน ออกเดินทางไปเมืองคุมพโจนาม
ระหว่างทางแวะ เมืองคานไคโกนโจละปุรัม

ถึง เมืองคานไคโกนโจละปุรัม นำชม:
∞ วัดพริหทิสวะระแห่งคานไคโกทะโจลิวราม สร้างโดยพระเจ้าราเชนทระที่1 แห่งราชวงศ์โจฬะ/โจละ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อวัดโจละที่เจริญยิ่งใหญ่ เมื่อค.ศ. 2004
ได้เวลาอันสมควรเดินทางไปที่เมืองกุมพโจนาม

ถึง เมืองกุมพโจนาม, นำเข้าพักโรงแรมที่พัก Paradise Resort
รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่เก้า กุมพโจนาม – ฐานชวุร์ – ทรสุราม- มถุไร

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเข้า เดินทางไปเมืองฐานชวุร์

ถึง เมืองฐานชวุร์, นำชม:
∞ วัดพริหทิสวะระแห่งฐานชวุร์ สร้างโดยพระเจ้าราชราชะ โจละที่1เมื่อค.ศ. 1002 ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อวัดโจละที่เจริญยิ่งใหญ่ เมื่อค.ศ. 2004
จากนั้นเดินทางไปเมืองทรสุราม

ถึง ทรสุราม นำชม:
∞ วัดไรระวะเตสวระ สร้างโดยพระเจ้าราชราชะ โจละที่ 2 เมื่อคริสต์วรรษที่ 12ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อวัดโจละที่เจริญยิ่งใหญ่ เมื่อค.ศ. 2004
รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านในเมืองฐานชวุร์
13.00 น. หลังอาหารกลางวัน เดินทางไปเมืองมถุไร

ถึง เมืองมถุไร, นำเข้าโรงแรมที่พัก GRT Madurai
รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน


วันที่สิบ มถุไร – เชนไน
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเช้า นำชม:
∞ พระราชวังทิรุมละไนก/ทิรุมะไล สร้างโดยพระเจ้าทิรุมะไล เมื่อค.ศ. 1636
∞ วัดมีนากสิ สร้างในระหว่างค.ศ. 1623 – ค.ศ. 1655
ได้เวลาอันสมควรนำกลับโรงแรมที่พัก GRT Madurai
รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมที่พัก
หลังอาหารกลางวันเดินซื้อของที่ย่านการค้า
18.00 น. ออกเดินทางจากท่าอากาศยานมถุไร เมืองมถุไร รัฐทมิฬนาดุ
โดยสายการบิน Spicejet สไปร์เจ็ต เที่ยวบินที่ SG 275 เดินทางไปเมืองเชนไน
19.00 น. ถึงท่าอากาศยานเชนไน เมืองเชนไน รัฐทมิฬนาดุ/รัฐทมิฬนาดู
จากนั้นนำไปโรงแรมที่พัก

ถึงโรงแรมที่พัก GRT Grand นำเข้าโรงแรมที่พัก
รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

วันที่สิบเอ็ด เชนไน – กานจีปุรัม

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. หลังอาหารเช้า ออกเดินทางไปเมืองกานจีปุรัม

ถึง เมืองกานจีปุรัม นำชม:
∞ วัดกไลสนาถ สร้างโดยพระเจ้าราชสิมหะ ปาลละวะ แห่งราชวงศ์ปาลละวะ
เมือง กานจีปุรัม เป็นบ้านเกิดของท่านอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาอภิธัมมัตถสังคหะ ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และสมัยสตวาหนะ เมืองกานจีปุรัมเป็นแดนพระพุทธศาสนา หลังจากที่ยุคเมารยันและสตวาหนะเสื่อมลง พร้อมกับการเกิดของอาณาจักรปาลละวะ แห่งราชวงศ์ปาลละวะ พระพุทธศาสนาได้เริ่มเสื่อมลงและ
สูญหายไปในที่สุด
ได้เวลาอันสมควรเดินทางกลับโรงแรมที่พัก ที่เชนไน

ถึงโรงแรมที่พัก GRT Grand, รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมที่พัก
หลังอาหารกลางวัน นำไปเดิน ฃ็อป ฉี่ ชิมที่ โปนไทบาซ่า
ได้เวลาอันสมควรนำกลับโรงแรมที่พัก GRT Grand
รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมที่พัก, พักค้างคืน

***รัฐ ทมิฬนาดู ในอดีตกาลเป็นดินแดนที่ตั้งของมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ 3 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรปาลละวะอาณาจักรโจละ และอาณาจักรปัณยะ อาณาจักรทั้ง 3 นี้เป็นบ้านเกิดของกษัตริย์ลังกา กษัตริย์แห่งอาณาจักรทั้ง 3 จะยกทัพไปรุกรานเกาะตัมพปัณณิเป็นเนื่องนิจ และได้เป็นกษัตริย์ปกครองเกาะตัมพปัณณิเป็นเวลายาวนาน
***เมืองมาถุไร เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรปัณยะ และยังคงอยู่ในปัจจุบันไม่ดับสลายเหมือนเมืองหลวงแห่งอาณาจักรต่างๆ ในอนุทวีป เป็นเมืองที่ต้องอาถรรพ์ พระราชธิดาแห่งนครหลวงมถุไร ไปทรงอภิเษกสมรสกับกษัตริย์ลังกาพระองค์ใดกษัตริย์พระองค์นั้นจะไม่มี รัชทายาท นับตั้งแต่พระเจ้าวิชัย ปฐมกษัตริย์แห่งเกาะตัมพปัณณิ ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาแห่งกรุงมถุไร ทรงไม่มีราชโอรสและราชธิดา ถึงแม้ว่าก่อนที่จะทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองมถุไร ได้ทรงมีโอรสและธิดาอย่างละองค์ กับนางยักษีคุเวนิก็ตาม ปลายรัชกาลต้องทรงขอให้พระอนุชาพระเจ้าสุมิตระ กษัตริย์แห่ง สิงหปุระ ที่อนุทวีปไปครองราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่พระเจ้าสุมิตระมิได้เสด็จไปครอง ได้ทรงให้พระโอรสองค์เล็กเจ้าชายปัณฑุวาสุเทพ ไปเป็นกษัตริย์แทน พระเจ้าปัณฑุวาสุเทพ ทรงเสกสมรสกับพระธิดาพุทธกาจญนา ศากยะ ผู้เป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า ทรงมีพระราชโอรส 10 พระองค์
พระธิดา 1 พระองค์
การ อภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์ลังกากับเจ้าหญิงมถุไรได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึง ศรีลังกายุคปลายพระเจ้าศรีวีระปรักรามะนเรนทระสิงหะ ทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาแห่งกรุงมถุไรทรงไม่มีพระราชโอรสและธิดาแต่พระองค์ ทรงมีพระโอรสกับนางสนมอื่น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระเชษฐาทางพระมเหสีขึ้นครองราชย์สมบัติแทน ดังนั้นราชวงศ์นวากกะ อันมีพระเจ้าศรีวิชัยราชาสิงห์/พระเจ้าศรวิชยะ ราชะ สิงหะ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ได้ทรงปกครองเกาะตัมพปัณณิ พระองค์ทรงไม่มีรัชทายาทโอรสและธิดา เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต
จึงได้ อัญเชิญพระเชษฐาองค์ใหญ่ของพระมเหสีจากกรุงมถุไร ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน และจะเป็นอย่างนี้เรื่อยมาจนถึงพระเจ้าศรีวิกรมราชะสิงห์/พระเจ้าศรีกรมะสิง หะ ทำให้ข้าราชเบื่อหน่ายและไม่ภักดี จึงไปพึ่งอังกฤษ และสาเหตุที่ไปพึ่งอังกฤษจึงทำให้เกาะตัมพปัณณิที่มีอายุ 2358 ปี ต้องสูญสิ้นกษัตริย์และตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา


วันที่สิบสอง เชนไน – เดลี – สมุทรปราการ
05.30 น. ออกเดินทางไปท่าอากาศยานเชนไน
08.45 น. ออกเดินทางจาก เมืองเชนไน รัฐทมิฬนาดู โดยสายการบิน แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ AI 143 ไปกรุงเดลี
11.30 น. ถึงท่าอากาศยานอินทิรา คานธี กรุงเดลี เพื่อเปลี่ยนเที่ยวบิน
13.25 น. (เวลาประเทศอินเดีย) ออกเดินทางจากสนามบินอินทิรา คานธี กรุงเดลี ประเทศอินเดีย โดยสายการบิน แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ AI 332 ไปประเทศไทย
19.20 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ. สมุทรปราการ ประเทศไทย โดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ

เส้น ทางการเดินทางเลียบฝั่งตะวันออกสู่อินเดียใต้ มีอัตราค่าใช้จ่ายสูงสืบเนื่องจากเส้นทางการบินมี 6 เที่ยวบิน: สายการบินระหว่างประเทศมี 3 เที่ยวบิน-: สมุทรปราการ – เดลี
เชนไน – เดลี -สมุทรปราการ สายการบินภายในประเทศ 3 เที่ยวบิน-: เดลี – ภูบเนศวระ ภูบเนศวระ – ไฮเดอราบาด มถุไร – เชนไน

สำหรับ สายการบินภายในประเทศต้องซื้อนำหนักกระเป๋าเพิ่มขึ้นแต่ละเส้นทางคนละอีก 5 กิโล รวม 3 เส้นทางเป็น 15 กิโล (สายการบินให้คนละ 15 กิโล)

ที่รัฐโอ ริสา ต้องใช้รถ 4 วีลไดว์ เพราะพุทธโบราณสถานอยู่บนยอดเขา และเทือกเขา 4 ลูกได้แก่ รัตนคีรี อุทยคีรี ลลิตคีรี ลนคุทิ บริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงฆ์
ปุสปะ มหาวิทยาลัยปุสปะตั้งอยู่บนยอดเขาลนคุทิ มหาวิทยาลัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โต กว่ามหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งมีเนื้อที่ 2 หมู่บ้านได้แก่ หมู่บ้านโกลิตคาม หมู่บ้านติสสคาม หมู่บ้านทั้งสองตั้งอยู่ตำบลนาลกคาม และสวนมะม่วง...ปาวาริกัมพวัน ของท่านเศรษฐีทุสสปาวาริก

นอกจากนั้น เส้นทางที่ไปเยี่ยมชมแต่ละที่เหมาะที่จะใช้รถโฟร์วีลไดว์

ส่วน ที่รัฐไฮเดอราบาด จะมีสถานที่บางแห่งยังไม่มีใครเคยไป เป็นสถานที่ที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาเป็น ที่ประดิษฐ์ฐานพระบรมสารีริกธาตุ ในรัฐไฮเดอราบาดได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุ 17 แห่ง มากกว่ารัฐอื่นๆ ในประเทศอินเดีย

รัฐที่ไปมี 3 รัฐ:-
รัฐโอริสสา
รัฐไฮเคอราบาด
รัฐทมิฬนาดู
รัฐโอริสสา เป็นถิ่นกำเนิดประวัติศาสตร์ของประเทศศรีลังกา
รัฐทมิฬนาดู เป็นประวัติศาสตร์และจุดจบของเกาะตัมพปัณณิ

***รายการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้แต่ถือประโยชน์ลูกทัวร์เป็นสำคัญ


ราคาค่าบริการ

ราคาท่านละ 82,000 บาท สำหรับห้องคู่
ห้องเดี่ยวเพิ่มคนละ 22,500 บาท

อัตรานี้รวม ตั๋วเครื่องบินไป – กลับ ระหว่างประเทศ
กรุงเทพฯ -เดลลี // เชนไน -เดลลี – สมุทรปราการ
(Air India ) AI 333 /// ( Air India) AI 143 + AI 332

ตั๋วเครื่องบินภายใน
เดลลี – ภูบเนศวระ +( IndiGo ) 6E-341
ภูบเนศวระ - ไฮเดรบาด ( IndiGo ) 6E 263
มถุไร - เชนไน (Spicejet ) SG 275

ห้องพักและอาหารทุกมื้อ

ค่านำเที่ยว, ค่าชมสถานที่ต่างๆ ซึ่งระบุไว้ในรายการ

ค่ารถตลอดเส้นทางการเดินทาง:
รถโค้ช
รถโฟลวีลไดร์ใช้ 1 ช่วงของการเดินทาง: ที่รัฐโอริสสา

ค่าประกันอุบัติเหตุในวงเงิน 1,000,000 บาท
ค่าประกันรักษาพยาบาลในวงเงิน100,000 บาท
ผู้ติดตามอำนวยความสะดวก
วีซ่าและภาษีสนามบิน

สิ่งที่ควรนำไป : ยาประจำตัว และสิ่งที่ท่านคิดว่าควรจะนำไปสำหรับตัวท่านเอง
หมายเหตุ : ท่านผู้ใดถือศีลแปด และท่านผู้ใดไม่รับประทานอาหารบางอย่าง กรุณาแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในเวลาสั่งจอง

เงื่อนไขในการชำระเงินที่ใช้ในการเดินทาง:
ขอให้ท่านจ่ายเงินสำรองที่นั่งท่านละ 10,000 บาท ภายใน 20 มกราคม 2558
ส่วนที่เหลือทั้งหมดขอให้ท่านชำระก่อนออกเดินทางไม่ต่ำกว่า 20 วัน หลังจากตัดสินใจแล้ว
นายชำนาญ สุทธิ : ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระประแดง บ/ช ออมทรัพย์ 1254078015
นางอนิสา สุทธิ : 1. ธนาคารกรุงไทย บ/ช ออมทรัพย์ สาขายานนาวา 010-1-07360-7
2. ธนาคารกสิกรไทย บ/ช ออมทรัพย์ สาขายานนาวา 013-2-51493-3
3. ธนาคารไทยพาณิชย์ในนาม “ สุทธิธรรมทัวร์” บ/ช ออมทรัพย์
สาขาพระประแดง 303-2-793669
( หลังจากโอนแล้วกรุณาแฟ๊กซ์หลักฐานที่ 02-4610027 )

ททท.

ใบ กรมการทองเทยว

ใบจดทะเบียนบริษัท

IMG 20180328 0001

ใบจดทะเบียนบริษัท

ทะเบยนบรษท

Copyright (c) Sutthitham Tour 2016. All rights reserved.